;

Q&A งานทุนและสวัสดิการ

Q&A งานทุนและสวัสดิการ

สงสัยเรื่องไหน ? ลองเลือกดูกันได้เลย

หน่วยทุนการศึกษา

จะรู้ข่าวสมัครทุนการศึกษาได้จากที่ไหน
ในเพจเฟสบุ๊คกองกิจการนิสิต
สามารถสมัครทุนการศึกษาได้อย่างไร
ดูข้อมูลรายละเอียดการเปิดรับสมัคร
  • ทุนส่วนกลาง สมัครได้ทั้งออนไลน์และสมัครได้ที่หน่วยทุนการศึกษา
  • ทุนภายนอกอาจจะเปิดรับเองโดยสมัครผ่านทางออนไลน์ เว็บไซต์ของมูลนิธิต่างๆ

หน่วยกองทุนสวัสดิภาพนิสิต

นิสิตสามารถทำเรื่องขอเบิกเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลได้ในกรณีใดบ้าง
อุบัติเหตุทุกกรณี / อาหารเป็นพิษ / ไส้ติ่งอักเสบ / ไข้เลือดออก / ถูกสัตว์ทำร้ายและต้องมีการฉีดวัคซีนต่อเนื่อง
นิสิตต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อนใช่หรือไม่
เมื่อนิสิตประสบอุบัติเหตุ และเข้ารับการรักษา นิสิตต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน  และนำใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ และสำเนาบัตรนิสิต มาติดต่อทำเรื่องขอรับเงินที่กองทุนฯในภายหลัง ยกเว้นกรณีที่นิสิตยื่นบัตรนิสิตเพื่อขอใช้สิทธิกองทุนสวัสดิภาพนิสิตกับ รพ. ที่ทางมหาวิทยาลัยทำสัญญาไว้ ได้แก่ รพ.เปาโลเกษตร และ รพ.วิภาวดี นิสิตไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาเบื้องต้นตามวงเงินที่กองทุนฯกำหนด (อุบัติเหตุไม่นอน รพ. วงเงินสูงสุด 2,000 บาทต่อเคส / อุบัติเหตุนอน รพ. วงเงินสูงสุด 8,000 บาท/เคส) แต่หากมีส่วนต่างค่ารักษาเกินจากวงเงิน นิสิตต้องชำระค่าส่วนต่างนั้นเอง และไม่สามารถนำส่วนต่างมาเบิกกับทางกองทุนฯเพิ่มได้อีก เนื่องจากนิสิตได้ใช้สิทธิกองทุนสวัสดิภาพนิสิตไปจนเต็มวงเงินแล้ว ตัวอย่าง
  • นิสิตประสบอุบัติเหตุเข้ารับการรักษากับ รพ. เอกชนทั่วไป หรือคลินิกใกล้บ้านเสียค่ารักษาทั้งหมด 2,500 บาท นิสิตต้องสำรองจ่ายไปก่อน และนำเอกสารมาเบิกกับกองทุนฯได้ตามวงเงิน 2,000 บาท
  • นิสิตประสบอุบัติเหตุเข้ารับการรักษาที่ รพ.เปาโลเกษตร หรือ รพ.วิภาวดี โดยยื่นบัตรนิสิตเพื่อขอใช้สิทธิของกองทุน เสียค่ารักษาทั้งหมด 2,500 บาท ทาง รพ. จะตัดส่วนที่กองทุนสวัสดิภาพนิสิตต้องออกให้กับนิสิตจำนวน 2,000 บาทออกไป โดยนิสิตจะชำระส่วนต่างแค่ 500 บาท และไม่สามารถนำส่วนต่างมาเบิกเพิ่มที่หน่วยกองทุนสวัสดิภาพนิสิตซ้ำได้ เนื่องจากนิสิตได้ใช้สิทธิไปเต็มวงเงินแล้ว 
นิสิตรักษาที่สถานพยาบาลใดได้บ้าง จึงจะสามารถเบิกเงินกับกองทุนฯได้
นิสิตสามารถนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ ที่เข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง มาเบิกกับกองทุนฯได้ ไม่ว่าจะเป็นจากคลินิก สถานีอนามัย รพ.รัฐ หรือรพ.เอกชน ยกเว้นกรณีที่นิสิตได้ใช้สิทธิกองทุนสวัสดิภาพนิสิตที่ รพ.เปาโลเกษตร หรือ รพ.วิภาวดี ไปเรียบร้อยแล้ว ที่จะไม่สามารถนำมาเบิกซ้ำซ้อนได้
นิสิตประสบอุบัติเหตุที่ต่างประเทศสามารถเบิกได้หรือไม่
นิสิตประสบอุบัติเหตุที่ต่างประเทศสามารถนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์มาเบิกกับกองทุนฯได้ โดยกองทุนฯจะจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้ โดยเทียบตามอัตราเงินแลกเปลี่ยน ณ วันที่เข้ารับการรักษา
กรณีแพ้อาหารทะเล สามารถเบิกได้หรือไม่
กรณีแพ้อาหารทะเล ไม่สามารถเบิกเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯได้ เนื่องจากไม่ถือเป็นกรณีอุบัติเหตุ  เพราะเป็นลักษณะเฉพาะ แต่ละบุคคล  เช่น บางคนแพ้กุ้ง  หรืออาการแพ้เกสรดอกไม้
ถ้านิสิตมีการทำประกันส่วนตัวไว้ สามารถเบิกซ้ำซ้อนได้หรือไม่
นิสิตที่มีการทำประกันส่วนตัวไว้ สามารถเบิกซ้ำซ้อนกับกองทุนได้ โดยนำใบเสร็จ/ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงไปเบิกกับบริษัทประกัน และใช้สำเนาใบเสร็จ/ใบรับรองแพทย์เบิกกับกองทุนฯ  หรือจะใช้ใบเสร็จในยอดเงินส่วนต่างจากที่ประกันให้เบิกได้ มาเบิกกับกองทุนฯก็ได้
หากนิสิตมีค่ารักษาพยาบาล เกินวงเงินของกรณีคนไข้ใน หรือ คนไข้นอก ที่กองทุนฯจ่ายให้ นิสิตต้องจ่ายส่วนต่างค่ารักษาพยาบาลนั้นเองใช่หรือไม่
ใช่  นิสิตต้องจ่ายส่วนต่างค่ารักษาพยาบาลในวงเงินที่เกินนั้นเอง  แต่หากการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น มีการรักษาต่อเนื่องยาวนาน และไม่สามารถใช้อวัยวะได้เป็นปกติในช่วงการรักษา หรือเป็นไปตามเกณฑ์อื่นใดของกองทุนฯ เช่น สูญเสียอวัยวะบางส่วน  นิสิตสามารถขอความอนุเคราะห์เบิกค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมจากกองทุนฯได้  โดยเขียนใบคำร้อง พร้อมแนบใบรับรองแพทย์ที่ระบุสาเหตุ อาการบาดเจ็บ และการรักษาต่อเนื่อง เข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯพิจารณาเพิ่มเติมได้  ซึ่งการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจะอยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการ หรือคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
เพื่อน หรือ คนอื่น สามารถทำเรื่องเบิกเงินแทนได้หรือไม่
ไม่ได้ การทำเรื่องเบิกเงินช่วยเหลือนิสิตต้องมาติดต่อ ลงลายมือชื่อในเอกสารด้วยตนเอง บุคคลอื่น (ในที่นี้คือ บิดา หรือ มารดา) สามารถทำแทนได้ ในกรณีที่นิสิตนั้นไม่รู้สึกตัว (เช่น เป็นอัมพาต เจ้าชายนิทรา) โดยต้องมีใบรับรองแพทย์รับรองอาการดังกล่าวด้วย
การรับเงินช่วยเหลือ กี่วันจึงได้รับเงิน
ในการติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือ หากนิสิตเตรียมหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายมาครบถ้วน ถูกต้อง  นิสิตสามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้ทันที ที่หน่วยกองทุนสวัสดิภาพนิสิต ห้องงานบริการและสวัสดิการ อาคารระพีสาคริกชั้น 1

หน่วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

นิสิตกู้ยืมต่อเนื่องเลื่อนชั้นปีการศึกษาจะต้องส่ง “แบบยืนยันการเบิกเงิน” ให้หน่วยกองทุนให้กู้ยืมฯ ม.เกษตรศาสตร์ เมื่อใดบ้าง ?
เมื่อต้องการกู้ยืมในเทอมนั้นๆ (แต่ถ้าหากนิสิตไม่ได้ยื่นกู้ไว้ตั้งแต่เทอมแรกของปีการศึกษาใด ในเทอมที่สองของปีการศึกษานั้นจะไม่สามารถทำการกู้ยืมได้)
นิสิตที่กู้ค่าครองชีพรายเดือนจะได้รับเงินค่าครองชีพเป็นจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือน และเป็นระยะเวลากี่เดือน ?
ค่าครองชีพ 3,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
นิสิตกู้ยืมเฉพาะค่าเทอม และไม่ประสงค์กู้ค่าครองชีพจะต้องเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทยหรือไม่ ?
ต้องเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทยด้วย แม้ว่าจะไม่ได้กู้ค่าครองชีพ
ภาคฤดูร้อนสามารถกู้ยืมได้หรือไม่ ?
ไม่ได้
การกู้ยืมนั้น กยศ.กำหนดให้ผู้กู้ต้องมีรายได้ครอบครัวไม่เกินจำนวนเท่าใด จึงจะสามารถกู้ยืมได้ทั้งค่าเทอมและค่าครองชีพรายเดือน ?
รายได้ครอบครัวรวมกัน ไม่เกิน 360,000 บาท/ปี
ถ้าหากผู้กู้ยืมเงินกำลังศึกษาอยู่ แต่ไม่ได้กู้ยืมเงินในปีการศึกษาใด จะต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาให้ธนาคารทราบหรือไม่ อย่างไร ?
ต้องแจ้งให้ธนาคารทราบทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
ผู้กู้ยืมจะต้องชำระหนี้เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นระยะเวลากี่ปีโดยนับจากปีที่จบการศึกษา และจะต้องชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่เท่าไร เดือนอะไร ?
2 ปี ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม เช่น สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2562 ผู้กู้ยืมจะต้องเริ่มชำระหนี้งวดแรก วันที่ 5 ก.ค. 2565
การที่จะถือได้ว่าผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ ซึ่งต้องชำระหนี้คืนกองทุนฯ นั้น มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ?
ผู้กู้ยืมเงินไม่ได้กู้ติดต่อกัน 2 ปี และไม่ได้แจ้งสถานภาพการศึกษาให้ธนาคารทราบ
การชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนฯ หลังจากครบกำหนดระยะเวลาปลอดหนี้แล้ว ผู้ยืมเงินจะต้องชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเท่าใดต่อปี
ร้อยละ 1 ต่อปี
เงินต้นที่ผู้กู้ยืมต้องชำระในงวดแรก ต้องไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละเท่าไร ของวงเงินที่ได้กู้ยืม ?
ไม่น้อยกว่า อัตราร้อยละ 1.5 ของวงเงินที่ได้กู้ยืม (เฉพาะงวดแรก)
ถ้าหากผู้กู้ยืมชำระหนี้คืนกองทุนฯ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้ยืมเงินจะต้องเสียดอกเบี้ยหรือไม่
 ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลากี่ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้ ?
ภายใน 15 ปี
กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 8,008 บาท/เดือน ผู้กู้ยืมเงินสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้กี่ครั้ง ๆ ละกี่ปี
ไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน 1 ปี
การคิดเบี้ยปรับ/ค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ คิดจากเงินที่ผู้กู้ยืมคงค้างชำระในแต่ละปี ในอัตราร้อยละเท่าใดต่อปี ?
อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

หน่วยวิชาทหาร

การทำผ่อนทหารฯของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำอย่างไรช่วงไหน? (หน่วยวิชาทหาร)
ส่งเอกสารผ่อนผันทหารฯ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะรับเอกสารในช่วงเดือน พฤศจิกายน ของทุกๆปี นิสิตส่งเอกสารได้ที่ หน่วยวิชาทหาร กองกิจการนิสิต ชั้น1
การเรียนวิชาทหาร ชั้นปี 4-5 ต้องทำอย่างไร? (หน่วยวิชาทหาร)
รับสมัครและรายงานตัวเรียนวิชาทหาร สำหรับนิสิตใหม่ชั้นปี1 ที่สนใจเรียนวิชาทหาร ในชั้นปี 4-5 ชายหญิง กรณีโอนย้าย เลื่อนชั้น นิสิตที่สนใจติดต่อ ในเดือนมิถุนายน ของทุกๆ ปี ที่หน่วยวิชาทหาร กองกิจการนิสิต ชั้น1

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์